Posted on

มัลติมิเตอร์ฉบับเข้าใจง่าย ❓

ถ้าคุณอยากจะวัดกระแสไฟฟ้าหรือแรงดันหรือความต้านทานรวมจบไว้ในที่เดียว ซึ่งมัลติมิเตอร์ จะช่วยให้คุณสามารถวัดทั้งระบบไฟฟ้ากระแสตรง(DC) กระแสสลับ(AC) และอีกทั้งยังสามารถวัดปริมาณทางไฟฟ้าหลายประเภท โวลท์มิเตอร์(V), แอมป์มิเตอร์(A)หรือโอห์มมิเตอร์(Ω)ได้

มัลติมิเตอร์มีกี่แบบ❓

โดยมัลติมิเตอร์ สามารถแบ่งออกได้ 2 ประเภทที่นิยมใช้อย่างแพร่หลาย คือ มัลติมิเตอร์แบบดิจิตอล และมิลเตอร์แบบอนาล็อก

ซึ่งทั้ง 2 ประเภทนี้ จะมีค่าแสดงผลการวัดที่เหมือนกัน(ถ้าปัจจัยทางการวัดเท่ากัน) แตกต่างกันตรงวิธีการแสดงค่าออกมา โดย

แบบดิจิตอลจะแสดงค่าเป็นตัวเลข แต่แบบอนาล็อกจะแสดงค่าเป็นแบบหน้าปัดหรือแบบเข็มชี้นั้นเอง

 

มัลติมิเตอร์แบบอนาล็อก (Analog Multimeter) เป็นเครื่องมือวัดไฟฟ้าที่มีลักษณะอ่านค่าจากเข็มชี้บนสเกลเพลทที่อยู่บนหน้าปัดของมิเตอร์ สามารถวัดค่าแรงดัน ค่ากระแส ค่าความจุ ค่าความถี่ และทดสอบทรานซิสเตอร์ได้ แต่จะวัดได้ทีละอย่าง โดยจะทราบปริมาณไฟฟ้าที่วัดได้จากเข็มชี้บนสเกลเพลทที่มีการเคลื่อนที่ออกจากตำแหน่งเดิม แต่ความแม่นยำน้อยกว่าแบบมัลติมิเตอร์แบบดิจิตอล

การใช้งานมัลติมิเตอร์แบบอนาล็อก:

  • ใช้ในงานซ่อมบำรุงทั่วไปและตรวจสอบระบบไฟฟ้าพื้นฐาน

  • เหมาะสำหรับช่างไฟฟ้าและผู้ที่ต้องการเครื่องมือวัดที่ใช้งานง่ายและรวดเร็ว

ใช้ในการศึกษาการทำงานของอุปกรณ์ไฟฟ้าและการเรียนการสอนด้านไฟฟ้

วิธีการใช้งานมัลติมิเตอร์แบบอนาล็อกเบื้องต้น

การอ่านค่าบนสวิตช์

ทดสอบแรงเคลื่อนไฟฟ้ากระแสตรงหรือกระแสสลับ โดยทั่วไปตัวอักษร(V)มักหมายถึงค่าแรงเคลื่อนไฟฟ้า ในขณะที่เส้นยึกยือ หมายถึงไฟฟ้ากระแสสลับ(พบได้ในวงจรในครัวเรือน) และเส้นตรงหรือเส้นประ หมายถึงไฟฟ้ากระแสตรง(พบในแบตเตอรี่ส่วนใหญ่) โดยเส้นเหล่านี้ อาจปรากฏอยู่ถัดจากหรือเหนือตัวอักษร

 

  • การตั้งค่าสำหรับทดสอบแรงเคลื่อนไฟฟ้าในวงจรไฟฟ้ากระแสสลับมัก จะมีสัญลักษณ์ V~, ACV หรือ VAC กำกับไว้

  • หากต้องการทดสอบแรงเคลื่อนไฟฟ้าในวงจรไฟฟ้ากระแสตรง ให้ตั้งค่ามัลติมิเตอร์เป็น V–, V—, DCV หรือ VDC

การตั้งค่ามัลติมิเตอร์เพื่อวัดกระแสไฟฟ้า เนื่องจากกระแสไฟฟ้าที่วัดได้มีหน่วยเป็นแอมแปร์ จึงใช้ตัวอักษร(A)เป็นตัวย่อ โดยให้เลือกเป็นไฟฟ้ากระแสตรงหรือกระแสสลับตามวงจรไฟฟ้าที่กำลังทดสอบ แต่มัลติมิเตอร์แบบเข็มทั่วไปมักไม่สามารถใช้ทดสอบค่ากระแสไฟฟ้าได้

 

  • A~, ACA และ AAC เป็นสัญลักษณ์สำหรับไฟฟ้ากระแสสลับ

  • A–, A—, DCA และ ADC เป็นสัญลักษณ์สำหรับไฟฟ้ากระแสตรง

 

หาค่าความต้านทาน ค่าความต้านทานจะมีตัวอักษรโอเมกา(Ω)ในภาษากรีกกำกับไว้ ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ที่บอกค่าโอห์มหรือหน่วยที่ใช้ในการวัดความต้านทานนั่นเอง แต่มัลติมิเตอร์รุ่นเก่าๆบางชนิดอาจจะใช้ตัวอักษร(R)ในการแสดงค่าความต้านทาน

 

อ่านสัญลักษณ์กำกับช่องต่อมัลติมิเตอร์ส่วนใหญ่จะมีช่องหรือรูต่อ 3 จุดด้วยกัน และบางครั้งช่องต่อเหล่านี้อาจจะมีสัญลักษณ์กำกับไว้ ซึ่งตรงกับสัญลักษณ์ที่อธิบายไปก่อนหน้านี้ โดยสามารถนำคำแนะนำต่อไปนี้ไปใช้ในกรณีที่สัญลักษณ์มีความคลุมเครือ

 

  • หัวตรวจสอบสีดำต้องต่อเข้ากับช่องต่อที่มีสัญลักษณ์ COM ซึ่งย่อมาจาก “common” เสมอ (เรียกได้อีกอย่างว่ากราวด์) และปลายอีกด้านของสายวัดสีดำต้องต่อเข้ากับขั้วลบเสมอ

  • เมื่อต้องการวัดแรงเคลื่อนไฟฟ้า หรือความต้านทาน ให้ต่อหัวตรวจสอบสีแดงเข้ากับช่องต่อที่มีค่ากระแสไฟฟ้ากำกับต่ำสุด (มักเป็น mA ที่ย่อมาจากมิลลิแอมป์)

  • เมื่อต้องการวัดค่ากระแสไฟฟ้า ให้ต่อหัวตรวจสอบสีแดงเข้ากับช่องต่อที่มีข้อความกำกับว่า สามารถทนปริมาณกระแสไฟฟ้าที่คาดว่าจะวัดได้ โดยทั่วไป ช่องต่อสำหรับวงจรกระแสไฟฟ้าแรงต่ำ มักมีฟิวส์ป้องกันไฟฟ้า 200mA ในขณะที่ช่องต่อสำหรับวงจรกระแสไฟฟ้าแรงสูงจะป้องกันไฟฟ้าได้ถึง 10A  

 

การอ่านผลลัพธ์จากมัลติมิเตอร์แบบเข็ม

ค้นหาสเกลที่ถูกต้องบนมัลติมิเตอร์แบบเข็ม มัลติมิเตอร์แบบเข็มจะมีเข็มอยู่ด้านหลังกรอบกระจก โดยเจ้าเข็มนี้จะเคลื่อนที่ไปมาเพื่อแสดงค่าผลลัพธ์และมักมีเส้นโค้ง 3 เส้นพิมพ์อยู่ด้านหลังเข็ม เส้นโค้งเหล่านี้ คือ สเกล 3 รูปแบบที่ใช้สำหรับวัตถุประสงค์ที่แตกต่างกันไป
 

 

(ภาพนี้ใช้เพื่อสำหรับประกอบบทความนี้เท่านั้น)

  • สเกล Ω ใช้สำหรับอ่านค่าความต้านทาน มักเป็นสเกลที่ใหญ่ที่สุดและอยู่ด้านบนสุด โดยมีค่า 0 (ศูนย์) อยู่ทางด้านขวา ไม่ใช่ด้านซ้ายเหมือนอย่างสเกลอื่น ๆ

  • สเกล “DC” ใช้สำหรับอ่านค่าแรงเคลื่อนไฟฟ้ากระแสตรง

  • สเกล “AC” ใช้สำหรับอ่านค่าแรงเคลื่อนไฟฟ้ากระแสสลับ

  • สเกล “dB” เป็นตัวเลือกที่มีการใช้งานน้อยที่สุด 

**มัลติมิเตอร์บางรุ่นมีฟังก์ชั่นในการวัดค่า dB ได้ ซึ่งจะช่วยให้สามารถวัดอัตราการขยายหรือการสูญเสียของแรงเคลื่อนไฟฟ้าระดับแรงดันไฟฟ้า  dB**

 

 

อ่านค่าจากสเกลวัดแรงเคลื่อนไฟฟ้าตามช่วงการวัดของคุณ อย่าลืมตรวจดูสเกลวัดแรงเคลื่อนไฟฟ้าให้ดีด้วยว่าเป็นกระแสตรงหรือกระแสสลับ โดยใต้สเกลมักจะมีตัวเลขหลายๆแถวเรียงอยู่ ให้ดูว่าคุณได้เลือกช่วงการวัดใดไว้บนสวิตช์(เช่น 10 โวลต์)จากนั้น จึงมองหาสัญลักษณ์ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งจะอยู่บริเวณด้านข้างของแถวเหล่านี้ โดยคุณจะต้องอ่านผลลัพธ์จากแถวนั้นๆนั่นเอง

 

ประเมินค่าระหว่างตัวเลข สเกลวัดแรงเคลื่อนไฟฟ้าบนมัลติมิเตอร์แบบเข็มจะทำงานเหมือนกับไม้บรรทัดทั่วไป แต่สเกลวัดความต้านทานจะแสดงค่าในรูปแบบลอการิทึม คือ ระยะห่างที่เท่ากัน หมายถึง ค่าจะเปลี่ยนแปลงไปตามจุดที่คุณอยู่บนสเกล ในขณะที่เส้นระหว่างตัวเลข 2 ตัวยังคงหมายถึง การแบ่งส่วนเท่า ๆ กัน เช่น ถ้ามีเส้น 3 เส้นอยู่ระหว่างตัวเลข “50” และ “70” แสดงว่าค่าที่ได้คือ 55, 60 และ 65 แม้ว่าช่องว่างระหว่างตัวเลขจะดูไม่เท่ากันก็ตาม

นำค่าความต้านทานที่อ่านได้จากมัลติมิเตอร์แบบเข็มมาคูณ ดูช่วงการวัดที่ตั้งค่าไว้บนสวิตช์มัลติมิเตอร์ เพราะเป็นตัวเลขที่เราต้องนำมาคูณกับค่าที่อ่านได้ ตัวอย่างเช่น หากตั้งค่ามัลติมิเตอร์ไว้ที่ R x 100 และเข็มชี้ไปที่ 50 โอห์ม แสดงว่าค่าความต้านทานที่แท้จริงของวงจร คือ 100 x 50 = 5,000

ศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับสเกล dB สเกล “dB” (เดซิเบล) มักเป็นสเกลที่อยู่ด้านล่างสุด และเล็กที่สุดบนมิเตอร์แบบเข็ม อีกทั้งต้องอาศัยการฝึกฝนเพิ่มเติมเล็กน้อยเพื่อให้ใช้งานได้ สเกล dB เป็นสเกลแบบลอการิทึมสำหรับวัดอัตราแรงเคลื่อนไฟฟ้าหรือที่เรียกอีกอย่างว่าการขยาย หรือการสูญเสีย สเกล dBv ตามมาตรฐานของสหรัฐกำหนดไว้ว่า 0 dbv เท่ากับ 0.775 โวลต์ ซึ่งวัดได้ที่ความต้านทานมากกว่า 600 โอห์ม แต่ก็มีสเกลอื่นๆ อย่าง dBu, dBm และ dBV (ตัว V พิมพ์ใหญ่) ที่ใช้แพร่หลายไม่แพ้กัน

มัลติมิเตอร์ดิจิตอล (Digital Multimeter)สามารถวัดปริมาณทางไฟฟ้าได้หลายประเภท สามารถวัดปริมาณกระแสสลับ วัดการขยายกระแสตรงของทรานซิสเตอร์ วัดความจุไฟฟ้า และตรวจสอบไดโอดได้อีกด้วย บนแผงหน้าของดิจิตอลมัลติมิเตอร์โดยการแสดงผลของค่าที่วัดได้จะปรากฏบนจอแสดงผลดิจิตอลที่มีตัวเลขบอกค่าอย่างชัดเจน และยังมีสัญลักษณ์เพื่อควาปลอดภัย(Safety Symbols)กำกับไว้

 

การใช้งานมัลติมิเตอร์ดิจิตอล:

 

  • เหมาะสำหรับงานซ่อมบำรุงและตรวจสอบระบบไฟฟ้าในบ้านหรือในอุตสาหกรรม

  • ใช้ในงานวิจัยและพัฒนาอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์

  • ใช้ในงานศึกษาและฝึกอบรมด้านไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์

วิธีการใช้งานมัลติมิเตอร์แบบอนาล็อก(ในที่นี้ขอยกตัวอย่างเป็นการวัดค่าความต่างศักย์)

  1. การตั้งค่าเครื่องมัลติมิเตอร์:

    • เปิดเครื่องมัลติมิเตอร์ดิจิตอล

    • หมุนสวิตช์เลือกโหมดการวัดไปที่ DCV (สัญลักษณ์ DCV มักจะเป็นตัวอักษร “V” พร้อมกับเส้นตรงและเส้นประ)

  2. การเชื่อมต่อสายวัด:

    • เสียบสายวัดสีดำเข้าที่ขั้ว COM (ขั้วลบ) บนมัลติมิเตอร์

    • เสียบสายวัดสีแดงเข้าที่ขั้ว V (ขั้วบวก) บนมัลติมิเตอร์

  3. ตั้งค่าช่วงการวัด:

    • สำหรับมัลติมิเตอร์ดิจิตอลที่มีฟังก์ชันการเลือกช่วงการวัดอัตโนมัติ (auto-ranging) เครื่องจะเลือกช่วงการวัดที่เหมาะสมให้เอง

    • สำหรับมัลติมิเตอร์ที่ต้องเลือกช่วงการวัดด้วยตนเอง ให้เลือกช่วงที่สูงกว่าความต่างศักย์ที่คาดว่าจะวัด

  4. การวัดความต่างศักย์:

    • นำสายวัดไปแตะขนานกับจุดที่ต้องการวัดในวงจร โดยให้สายวัดสีแดงแตะที่ขั้วบวก และสายวัดสีดำแตะที่ขั้วลบ

  5. การอ่านค่าจากมัลติมิเตอร์:

    • อ่านค่าความต่างศักย์ไฟฟ้าจากหน้าจอดิจิตอล

    • ค่าที่แสดงบนหน้าจอคือค่าความต่างศักย์ไฟฟ้าที่คุณวัดได้

  6. ปิดเครื่อง:

    • หลังจากการวัดเสร็จสิ้น ให้หมุนสวิตช์กลับไปที่ตำแหน่ง OFF เพื่อปิดเครื่องมัลติมิเตอร์

    • เก็บสายวัดให้เรียบร้อย

 

การทำตามขั้นตอนเหล่านี้จะช่วยให้คุณสามารถใช้มัลติมิเตอร์ดิจิตอลวัดความต่างศักย์ไฟฟ้ากระแสตรงได้อย่างถูกต้องและปลอดภัย

เพิ่มเติม!!!! ในปัจจุบันมีมัลติมิเตอร์ดิจิตอลที่เชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์ได้ โดยสามารถบันทึกและวิเคราะห์ข้อมูลการวัดผ่านคอมพิวเตอร์ได้อย่างง่ายดาย มาพร้อมกับซอฟต์แวร์ที่ช่วยให้คุณสามารถบันทึกข้อมูลการวัดในเวลาจริง  และดูกราฟหรือสถิติของข้อมูลได้ ซึ่งสามารถเชื่อมต่อผ่านพอร์ตUSB, RS232 หรือ Bluetooth ตามแล้วแต่รุ่น